วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทดสอบหลังเรียน

แบบทดสอบหลังเรียน
เรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง
๑) ท้าวดาหาไปแก้บนที่นอกเมืองดาหา   เนื่องในโอกาสใด
                ก. ทำสงครามชนะ
                ข. หายจากประชวร
                ค. ทำตามประเพณี
                ง. งานแต่งงานบุษบา
                ๒) ท้าวดาหาไปแก้บน ณ ที่ใด
                ก. นอกเมืองดาหา
 ข. เขาวิลิศมาหรา
               ค. ภูเขาทอง
               ง. วัดพระแก้ว
                ๓) บุหลัน   หมายถึง...
 ก. ต้นไม้
                ข. ดวงอาทิตย์
                 ค. พระจันทร์
                ง. ดอกไม้
                ๔) อิเหนาออกเที่ยวป่าพร้อมด้วยบริวาร  โดยปลอมตัวเป็นโจรป่าชื่ออะไร
                ก. จรกา
                ข. ดาหา
                ค. มิสาระปันหยี
 ง. กะหมังกุหนิง
                ๕) ใครเป็นใหญ่ที่สุด
ก. ปะตาระกาหลา
                ข. ท้าวกุเรปัน
                ค. อิเหนา
                ง. ท้าวดาหลัง
              ๖) ท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาตีเมืองดาหาเพราะเหตุใด
                ก. ชิงนางบุษบา
 ข. แก้แค้นอิเหนา
 ค. แก้บน
                ง. มีคนยุยง
                ๗) ข้อใดแสดงถึงการประกอบอาชีพของราษฎร ในเรื่องอิเหนา
                ก. ช่วยกันหาบหิ้วหอบที่นอน
 ข. ยักย้ายเงินทองไปเที่ยวฝัง
                ค. ผ่อนครัววัวควายแอกไถ
 ง. พวกผู้หญิงวิ่งหาสาแหรกคาน
 ๘) สมัยก่อนใช้อะไรเป็นสัญญาณจัดทัพ
 ก. ปืน
                ข. ฆ้อง
 ค. กลอง
                ง. นกหวีด
                ๙) ผู้แต่งเรื่องอิเหนา  ตอนที่ใช้เป็นบทเรียนนี้คือใคร
                ก. รัชกาลที่ ๑
 ข. รัชกาลที่ ๒
                ค. รัชกาลที่ ๓
                ง. รัชกาลที่ ๔
๑๐) อิเหนาให้ใครไปแต่งถ้ำ
                ก. สียะตรา
                ข. ประสันตรา
                ค. กะระตาหลา
                ง. สังคามาระตา
           ๑๑. เรื่องอิเหนาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในเรื่องใด
            ก.เป็นยอดของบทละครรำ  
           ข.เป็นยอดของวรรณกรรมการแสดง
           ค.เป็นยอดของบทกลอนและนาฏศิลป์ 
           ง.เป็นยอดของวรรณคดีมรดก
          ๑๒. เหตุใดอิเหนาจึงปฏิเสธการอภิเษกสมรสกับบุษบาในตอนแรก
         ก.ได้จินตะหราเป็นชายาแล้ว   
        ข.ท้าวหมันหยาดูแลต้อนรับอย่างดี
        ค.เข้าใจคิดว่าบุษบาขี้ริ้วขี้เหร่มาก   
      ง.อยากเป็นอิสระได้ท่องเที่ยวไปในป่า
      ๑๓. ข้อใดไม่ใช่เหตุการณ์ที่ปะตาระกาหลาทำ
       ก.บันดาลให้วิหยาสะกำเก็บรูปวาดบุษบาได้            
      ข.ให้ลมหอบบุษบาไปไว้เมืองประมอตัน
      ค.สาปให้จำกันไม่ได้จนกว่าจะพบกันพร้อมหน้า   
      ง.เชิดหนังเรื่องราวของอิเหนาและบุษบาให้ความจริงปรากฏ
     ๑๔. เหตุใดท้าวดาหาจึงไปใช้บน
    ก.ชนะศึกท้าวกะหมังกุหนิง          
    ข.บอกกล่าวเจ้าที่บนเขาวิลิศมาหรา
    ค.เป็นธรรมเนียมก่อนจัดการอภิเษกบุษบา  
    ง.ทำบุญฉลองเมืองหลวง
  ๑๕. เรื่องอิเหนา ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน เหตุใดอิเหนาจึงยอมปล่อยนางบุษบา
    ก.เพราะท้าวดาหาจะเสด็จมาไหว้พระปฏิมา
    ข.เพราะมะเดหวีสัญญาว่าจะช่วยให้อภิเษกกับบุษบา
    ค.เพราะอิเหนากับบุษบาได้แลกเปลี่ยนผ้าสไบให้กันและกัน
    ง.เพราะบุษบาให้คำมั่นว่าจะบ่ายเบี่ยงการอภิเษกกับจรกา
๑๖. ในเรื่องอิเหนาข้อใดที่ทำให้เกิดปัญหาการขัดแย้งของตัวละครมากที่สุด

    ก.ความรักลูกของท้าวดาหา   
    ข.การพลัดพรากจากคนรัก
    ค.ความเห็นแก่ตัวของอิเหนา   
    ง.ความไม่เจียมตัวของจรกา
๑๗. การกระทำของท้าวดาหาข้อใดที่ถูกตำหนิว่าเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดความรอบคอบ
    ก.การไม่ยอมยกบุษบาให้วิหยาสะกำ  
    ข.การยกบุษบาให้แก่จรกา
    ค.การไปใช้บน  บนเขาวิลิศมาหรา  
    ง.การจัดอภิเษกบุษบากับจรกา
๑๘. ข้อใดเป็นปมปัญหาสำคัญที่สุดของเรื่องอิเหนาที่ทำให้เกิดปมปัญหาอื่นๆ ต่อไป 
    ก.ท้าวดาหายกบุษบาให้แก่จรกาด้วยความโกรธอิเหนา
    ข.องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมหอมบุษบาไป
    ค.อิเหนาเผาเมืองดาหา   
    ง.บุษบาปลอมตัวเป็นอุณากรรณ
๑๙. ข้อความใดมีคุณค่าด้านวรรณศิลป์มากที่สุด
    ก.ลางนางบ้างกระทุ่มน้ำเล่น      บ้างโกรธกระเซ็นถูกเกศา
    ข.ยามกินกินทุกข์ทุกค่ำเช้า       ด้วยมิได้คลึงเคล้าสายสมร
    ค.อันนางนี้สิเป็นของลูก           รักใคร่พันผูกหนักหนา
    ง.จงให้สัตย์ปฏิญาณแก่ลูกรัก    จำเพาะพักตร์พระปฏิมาก่อน
๒๐. ข้อความใดเป็นข้อความที่แสดงความเย้ยหยัน
    ก. นี่ชะรอยชาวป่าพนาวัน         ไม่เคยเข้าเขตขัณฑ์เวียงชัย
    ข. นัดจะแต่งวิวาห์มงคล           กุศลไม่เคยคู่กับนัดดา
    ค. ส่วนตัวเจ้าของสิชังกัน          ส่วนบุหงานั้นสิชอบใจ

    ง. ว่าอิเหนามาตามด้วยความรัก   ข้อนี้ยังไม่ประจักษ์ยังสงสัย




เฉลยแบบทอสอบหลังเรียน
๑             ก
๒            ข
๓            ค
๔            ค
๕            ก
๖             ก
๗            ก
๘            ข
๙             ข
๑๐          ง
๑๑          ก
๑๒         ค
๑๓         ง
๑๔         ก
๑๕         ข
๑๖
         
๑๗        
๑๘        
๑๙         
๒๐         ค



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น