แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่๔ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๔
หน่วยการเรียนรู้ที่๒
เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
แผนการเรียนที่ ๑
เรื่อง อิเหนา
ตอนศึกกะหมังกุหนิง เวลา ๒
ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่..............................เดือน..............................พ.ศ.
...............
สาระและมาตราฐานการเรียนรู้
สาระที่
๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
มตราฐานท
๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น
วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย
อย่างเห็นคุณค่า และแสดงให้เห็นถึงแง่คิดของวรรณคดี
สามารถนำแง่คิดที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ตัวชี้วัด
มฐ. ท ๕.๑
เข้าใจและแสดงความคิดเห็น
วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย
สาระสำคัญ
อิเหนาเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่า
ในคำประพันธ์บทละครเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง
มีศิลปะการแต่งคำประพันธ์ที่ไพเราะ แสดงให้เห็นถึงประเพณีแต่โบราณ พร้อมข้อคิดในการใช้ชีวิตของคนแต่โบราณ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑.นักเรียนสามารถบอกประวัติความเป็นมาของเรื่องได้
๒.
นักเรียนสามารถบอกคำศัพท์ของเรื่องได้
๓. นักเรียนสามารถลำดับเหตุการณ์ของเรื่องได้
๔.นักเรียนสามารถบอกข้อคิดจากเรื่องได้
สาระการเรียนรู้
๑.
ความรู้
บทละครเรื่องอิเหนา
ตอนศึกกะหมังกุหนิง
กระบวนการจัดการเรียนรู้
(กิจกรรมการเรียนการสอน)
ขั้นนำสู่บทเรียน
๑.ครูกล่าวทักทายนักเรียน แล้วนำบัตรภาพจำนวน ๔ รูป นำไปติดบนกระดาน โดยมีรูปของ อิเหนา
นางบุษบา นางจินตะหรา ท้าวดาหา
ครูนำรูปอิเหนาและบุษบา
นางจินตะหราและท้าวดาหาแล้วถามว่า
ครูพูด: นักเรียนรู้จักไหมว่ายบุคคลในรูปคือใคร แล้วนักเรียนรู้จักบุคคลในรูปหรือไม่
๒.ครูและนักเรียนร่วนกันเฉลยว่าภาพที่อยู่บนกระดานเป็นตัวละครที่ปรากฎอยู่ใรเรื่องอะไร
๓. ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าวันนี้จะเรียน เรื่องอิเหนา
ตอนศึกกะหมังกุหนิง
๔.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
จำนวน ๒๐ ข้อ
ขั้นสอน
๑.ครูเปิด E-book ให้นักเรียนดูโดยครูอธิบายควบคู่ไปด้วย
๒.ครูให้นักเรียนดูประวัติความเป็นมาของเรื่องอิเหนาว่าใครคือผู้แต่งเรื่องอิเหนา
มีที่มาอย่างไร
๓.ครูให้นักเรียนหาคำศัพท์เรื่องอิเหนามาโดยแบ่งกลุ่มออกเป็น ๕ กลุ่ม
โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเปิดหาคำศัพท์กลุ่มละ
๓ หน้า พร้อมบอกความหมาย
โดยเขียนลงในกระดาษ
ครูพูดว่า: นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๕ คนแล้วเมื่อหาคำศัพท์ได้แล้วก็ให้กลุ่มเดิม
ที่หาคำศัพท์
มาถอดคำประพันธ์ตามหน้าที่ได้หาคำศัพท์ไว้แล้ว ว่าใน
หน้านี้คำประพันธ์ว่าอย่างไรบ้าง โดยให้แต่ละกลุ่มถอดคนละ ๓ หน้า
ตามที่กำหนดไว้ แล้วส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
๔.
ครูให้นักเรียนครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด
เรื่องการลำดับเหตุการณ์จากเรื่องวรรณคดีเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ว่าเริ่มแรกอิเหนาตอนนี้ เริ่มจากอะไร
และมีเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นมา
๑ เริ่มจากท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพไปรบเมืองดาหา
๒ ท้าวกุเรปันเรียกตัวอิเหนามาช่วยรบ
๓ อิเหนาจากนางจินตะหรา
๔ อิเหนาเดินทางในป่า
๕อิเหนารบกับวิหยาสะกำ
๖.ให้เรียงคำศัพท์ที่จากเนื้อเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกหนิง
๗ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อคิดในเรื่อง และให้บอกว่าข้อคิดที่ได้จากเรื่องมีอะไรบ้าง
๖. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดทั้งหมด๔ ตอน
๗.ครูสรุปเนื้อหาที่นักเรียนนำเสนอและอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
๘.
ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน ๒0 ข้อ
ขั้นสรุป
๑.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเนื้อหาในบทเรียนเรื่องอิเหนา
ตอนศึกกะหมังกุหนิง
๒.ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบฝึกหัดและแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
สื่อการเรียนรู้
/ นวัตกรรม/ แหล่งการเรียนรู้
๑.บทเรียนสำเร็จรูป
E-book
เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
-
ความรู้ในเรื่องอเหนา
ตอนศึกกะหมังกุหนิง
-
จุดประสงค์การเรียนรู้เรื่องอิเหนา
๒.แบบทดสอบก่อนเรียน
– หลังเรียนบทเรียน เรื่องอิเหนา
ตอนศึกกะหมังกุหนิง
๓.รูปภาพตัวละคร เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
๔.แบบฝึกหัดเรื่องอิเหนา
ตอนศึกกะหมังกุหนิง
กระบวนการวัดผลและประเมินผล
๑. สิ่งที่ต้องวัด
๑.๑
วัดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา
๑.๒ สังเกตจากพฤติกรรม ( กระบวนการทำงานกลุ่ม )
๑.๓ ทำแบบฝึกหัดได้ร้อยละ ๖๐
๑.๔ทำแบบทดสอบหลังเรียน ๒0ข้อ ได้อย่างน้อย ๑๒ ข้อ
๑.๕ความถูกต้องของแบบฝึกหัด และแบบทดสอบ
๒.๑ แบบวัดความรู้ความเข้าใจ
๒.๒
แบบวัดพฤติกรรม (กระบวนการทำงานกลุ่ม )
๒.๓ แบบฝึกหัด
๔ บท
๒.๓ แบบทดสอบหลังเรียน
๒.๔ แบบบันทึกการตรวจผลงาน
๓.เกณฑ์การวัดและประเมินผล
นักเรียนผ่านเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ
๖๐
เกณฑ์การผ่านการประเมิน
ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐ขึ้นไป
บันทึกข้อเสนอแนะของผู้ตรวจนิเทศ
/ ผู้บริหาร
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
สงชื่อ.................................................
ตำแหน่ง.............................................
บันทึกผลหลังการสอน
ผลการจัดการเรียนรู้
ด้านความรู้
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ด้านทักษะนักเรียน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหาและอุปสรรค
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
แนวทางแก้ไข
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
แบบวัดความรู้ความเข้าใจ
แผนการเรียนรู้ที่.....................เรื่อง........................
คำชี้แจง การประเมินในครั้งนี้ทำการประเมินเป็นกลุ่ม
โดยประเมินตามเกณฑ์การประเมินดังนี้
๔ หมายถึง ดีเยี่ยม ๓ หมายถึง ดี
๒ หมายถึง พอใช้ ๑ หมายถึง ต้องปรับปรุง
เลขที่
|
ชื่อ - นามสกุล
|
รายการประเมิน
|
รวม
|
ร้อยละ
|
|||||||||||
การถอดคำประพันธ์
|
การลำดับเหตุการณ์
|
การเข้าใจคำศัพท์ในเรื่องที่เรียน
|
|||||||||||||
๔
|
๓
|
๒
|
๑
|
๔
|
๓
|
๒
|
๑
|
๔
|
๓
|
๒
|
๑
|
๑๒
|
|||
เกณฑ์การประเมิน
ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป ระดับ ดีเยี่ยม
ร้อยละ ๗๐ - ๗๙
ระดับ ดี
ร้อยละ ๖๐-๖๙ ระดับ พอใช้
ต่ำกว่า ร้อยละ
๕๙ ระดับ ต้องปรับปรุง
ลงชื่อ......................................ผู้ประเมิน
(…………………….........) ............/................../............
เกณฑ์การให้คะแนนคุณภาพ
รายการประเมิน
|
ระดับคุณภาพ
|
|||
๔
|
๓
|
๒
|
๑
|
|
การถอดคำประพันธ์
|
ตีความ แปลความจากเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ๘
ประโยคขึ้นไป
|
ตีความ แปลความจากเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ๖
ประโยคขึ้นไป
|
ตีความ แปลความจากเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ๔ ประโยคขึ้นไป
|
ตีความ แปลความจากเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ๒
ประโยคขึ้นไป
|
การลำดับเหตุการณ์
|
สามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากตัวอย่างที่ให้ได้ถูกต้องอย่างน้อย๘
ประโยคขึ้นไป
|
สามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากตัวอย่างที่ให้ได้ถูกต้องอย่างน้อย๖
ประโยคขึ้นไป
|
สามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากตัวอย่างที่ให้ได้ถูกต้องอย่างน้อย๔ประโยคขึ้นไป
|
สามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากตัวอย่างที่ให้ได้ถูกต้องอย่างน้อย๒
ประโยคขึ้นไป
|
การเข้าใจคำศัพท์ในเรื่องที่เรียน
|
สามารถเข้าใจคำศัพท์ในเนื้อเรื่องได้และบอกได้อย่างถูกต้อง อย่างน้อย
๑๘ คำขึ้นไป
|
สามารถเข้าใจคำศัพท์ในเนื้อเรื่องได้และบอกได้อย่างถูกต้อง อย่างน้อย
๑๖ คำขึ้นไป
|
สามารถเข้าใจคำศัพท์ในเนื้อเรื่องได้และบอกได้อย่างถูกต้อง อย่างน้อย
๑๔ คำขึ้นไป
|
สามารถเข้าใจคำศัพท์ในเนื้อเรื่องได้และบอกได้อย่างถูกต้อง อย่างน้อย
๑๒ คำขึ้นไ
|
แบบประเมินพฤติกรรม ( กระบวนการทำงานกลุ่ม )
แผนการเรียนรู้ที่.........................เรื่อง............................
ชื่อกลุ่ม................................
คำชี้แจง
การประเมินในครั้งนี้ทำการประเมินเป็นกลุ่ม โดยประเมินตามเกณฑ์การประเมินดังนี้
๔ หมายถึง ดีเยี่ยม ๓ หมายถึง ดี
๒ หมายถึง พอใช้ ๑ หมายถึง ต้องปรับปรุง
ชื่อ-สกุล
|
รายการประเมิน
|
รวม(๒๐)
|
ร้อยละ
|
|||||||||||||||||||
ความตั้งใจ
|
ความร่วมมือในการทำงาน
|
ความมีวินัย
|
การนำเสนอผลงาน
|
คุณภาพของผลงาน
|
||||||||||||||||||
๔
|
๓
|
๒
|
๑
|
๔
|
๓
|
๒
|
๑
|
๔
|
๓
|
๒
|
๑
|
๔
|
๓
|
๒
|
๑
|
๔
|
๓
|
๒
|
๑
|
|||
เกณฑ์การประเมิน
ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป ระดับ ดีเยี่ยม
ร้อยละ ๗๐ - ๗๙
ระดับ ดี
ร้อยละ ๖๐-๖๙ ระดับ พอใช้
ต่ำกว่า ร้อยละ
๕๙ ระดับ ต้องปรับปรุง
ลงชื่อ......................................ผู้ประเมิน
(…………………….........)
เกณฑ์การให้คะแนนคุณภาพ
รายการประเมิน
|
ระดับคุณภาพ
|
|||
๔
|
๓
|
๒
|
๑
|
|
ความตั้งใจ
|
ทำงานอย่างเต็มความสามารถ
กระตือรือร้น
ผลงานประณีต
เรียบร้อยมีคุณภาพดีเยี่ยม
|
ทำงานด้วยความตั้งใจ
มีความกระตือรือร้น ผลงานมีคุณภาพในเกณฑ์ดี
|
ทำงานด้วยความตั้งใจ
ผลงานพอใช้
คุณภาพอยู่ในระดับพอใช้
|
มีความกระตือรือร้นในการทำงานน้อย
ผลงานไม่ค่อยมี
คุณภาพ
|
ความร่วมมือ
ในการทำงาน
|
สมาชิกในกลุ่มมีความร่วมมือกันดีมาก
ปรึกษาหารือกันตลอดเวลา รู้จักแบ่งงานกันทำจนงานสำเร็จ
|
สมาชิกในกลุ่มให้ความร่วมมือ
มีการปรึกษาหารือกันเป็นระยะ
|
สมาชิกในกลุ่มให้ความร่วมมือกัน
มีการปรึกษาหารือกันเป็นบางครั้ง
|
สมาชิกในกลุ่มไม่ค่อยปรึกษาหารือกัน
|
ความมีวินัย
ในการทำงาน
|
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ทำงานเป็นระเบียบ สะอาด ส่งงานตรงต่อเวลา
|
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ส่งงานตรงต่อเวลา
|
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ส่งงานช้า
|
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่น้อย
ทำงานช้า ส่งงานไม่ตรงเวลา
|
การนำเสนองาน
|
ความพร้อมของสมาชิกในกลุ่ม
กลวิธีนำเสนอผลงานน่าสนใจ เนื้อหาครบถ้วน พูดชัดเจน ตอบข้อซักถามได้ถูกต้อง
เข้าใจวิธีการต่างๆ
|
สมาชิกในกลุ่มมีความพร้อม
กลวิธีนำเสนอน่าสนใจ เนื้อหาครบ พูดนำเสนอได้ดี ตอบข้อซักถามได้ เข้าใจ
วิธีการต่างๆ
|
สมาชิกมีความพร้อมน้อย เนื้อหาไม่สมบูรณ์ การนำเสนอพอใช้
ตอบข้อซักถามได้บ้าง เข้าใจขั้นตอนวิธีการต่างๆ
พอสมควร
|
สมาชิกในกลุ่มมีความพร้อมน้อย
การพูดติดขัด ตอบข้อซักถามไม่ได้เท่าที่ควร เนื้อหาไม่ครบสมบูรณ์
ไม่เข้าใจขั้นตอนวิธีการต่างๆ
|
คุณภาพของงาน
|
มีความชัดเจนถูกต้องด้านเนื้อหา
การใช้ภาษา การเลือกใช้คำ ผลงานมีความประณีต มีคุณภาพ ให้ความรู้และประโยชน์
สะอาดสวยงาม
|
เนื้อหาชัดเจนถูกต้อง
การใช้ภาษาดี
ผลงานสะอาดสวยงาม
ให้ความรู้และประโยชน์
|
เนื้อหาถูกต้อง
การใช้ภาษายังไม่ถูกต้อง ความรู้และประโยชน์
มีบ้างแต่ยังไม่สมบูรณ์
ความสะอาดและความประณีต
มีบ้าง
|
เนื้อหาไม่สมบูรณ์
การเลือกใช้ภาษายังไม่ดีเท่าที่ควร ผลงานไม่น่าสนใจ
ความรู้และประโยชน์ที่ได้รับมีน้อย
|
แบบบันทึกการตรวจผลงาน
ชื่อ
|
คะแนนแบบทดสอบ
|
คะแนนแบบฝึกหัด
|
คิดเป็นร้อยละ
|
คะแนนที่ได้
|
|||||
ก่อนเรียน
|
หลังเรียน
|
แบบฝึกหัดชุดที่๑
|
แบบฝึกหัดชุดที่๒
|
แบบฝึกหัดชุดที่๓
|
แบบฝึกหัดชุดที่๔
|
รวมคะแนน
|
|||
๑๐คะแนน
|
๑๐คะแนน
|
คะแนน
|
คะแนน
|
คะแนน
|
คะแนน
|
คะแนน
|
|||
๑
|
|||||||||
๒
|
|||||||||
๓
|
|||||||||
๔
|
|||||||||
๕
|
|||||||||
ฯลฯ
|
|||||||||
รวม
|
|||||||||
ร้อยละ
|
เกณฑ์การประเมิน
ร้อยละ ๘๐
ขึ้นไป จะได้ ๕
คะแนน
ร้อยละ ๗๐- ๗๙ จะได้ ๔
คะแนน
ร้อยละ ๖๐ – ๖๙ จะได้ ๓
คะแนน
ต่ำกว่าร้อยละ ๕๙
จะได้ ต่ำกว่า ๓
คะแนน
หมายเหตุ ถ้านักเรียนทำแบบฝึกหัด เรื่อง สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
ได้คะแนนต่ำกว่า
๓
คะแนน ถือว่าไม่ผ่าน
ลงชื่อ......................................ผู้ประเมิน
(…………………….......)
นางบุษบา
ท้าวดาหา
อิเหนา
นางจินตะหรา
แบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
๑)
อะไรคือจุดมุ่งหมายสำคัญในการพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา
ก. เพื่อความเพลิดเพลิน
ข. เพื่อใช้เล่นละครใน
ค. เพื่ออนุรักษ์วรรณคดีของชาติ
ง. เพื่อปรับปรุงพระราชนิพนธ์อิเหนาในรัชกาลที่ ๑
๒)
กลอนบทละคนเรื่องอิเหนามีคุณค่าเชิงวรรณคดีมรดกในแง่ใด
ก. เป็นเองจริงในพระราชพงศาวดารของชวา
ข. แทรกขนบธรรมเนียมประเพณีของชวาไว้ด้วย
ค. แทรกเรื่องราวที่เป็นประเพณีต่างๆ ของไทยไว้ด้วย
ง.
เป็นที่มาในการจัดท่ารำและคำร้องให้สัมพันธ์กัน
๓) "อิเหนา" บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ดำเนินเรื่องตามต้นฉบับของใคร
ก. รัชกาลที่ ๑
ข. เจ้าฟ้าหญิงกุณฑล
ค. เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ
ง. พระเจ้ากรุงธนบุรี
อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ ๔-๖
"ตัวสิอยู่ปักมาหงัน
ใช่วงศ์อสัญแดหวา
เหตุใดว่าเป็นอนุชา นับในวงศาประการใด
หรือหนึ่งพึ่งจะมาเป็นน้อง เกี่ยงข้องรักกันเป็นไฉน
เราคิดเห็นผิดประหลาดใจ จงบอกไปแต่จริงบัดนี้"
๔) คำว่า "ตัว" ในที่นี้หมายถึงใคร
ก. จรกา
ข. ท้าวปะหมัน
ค. วิหยาสะกำ
ง. สังคามาระตา
๕)
ใครเป็นผู้พูด
ก. จรกา
ข. สิงหัดส่าหรี
ค. กะหมังกุหนิง
ง. วิหยาสะกำ
๖) ผู้พูดมีจุดประสงค์อย่างไร
ก. เย้ยหยัน
ข. เหยียดหยาม
ค. ปรามอยู่ในที
ง. ประชดประชัน
๗) คำศัพท์กลุ่มใดมีความหมายต่างพวกจากข้ออื่น
ก. ภูษา
ปั้นเหน่ง ทองกร
ข. อุบะ
กุณฑล สังวาล
ค. กะระตา
มณฑก ทับทรวง
ง. สนับเพลา
เจียระบาด ทับทรวง
๘) อิเหนาตอน
"ศึกกะหมังกุหนิง"
มีมูลเหตุมาจากอะไร
ก. ความรัก
ข. ความโลภ
ค. ความเห็นแก่ตัว
ง. ความใฝ่สูงเกินศักดิ์
๙) "แกล้งจะให้เกิดการโกลาหล ร้นรนไปทั่วทุกเส้นหญ้า
เสื่อมเดชเพศพงศ์เทวา ศึกมาถึงราชธานี"
ผู้ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้คือใคร ตามความคิดของท้าวดาหา
ก. จรกา
ข. อิเหนา
ค. วิหยาสะกำ
ง. ท้าวกะหมังกุหนิง
๑๐)
คำประพันธ์ใดไม่แสดงความเชื่อทางไสยศาสตร์
ก. ขึ้นเกยกิริณีที่ประทับ ผันพักตร์สู่พายัพทิศา
ข. พอได้ศุภฤกษ์ก็ลั่นฆ้อง ประโคมคึกกึกก้องท้องสนาม
ค. ปุโรหิตฟันไม้ข่มนาม ทำตามตำรับพิชัยยุทธ์
ง. ชีพ่อก็เบิกโขลนทวาร โอมอ่านอาคมคาถา
๑๑)ใครเป็นผู้นิพนธ์เรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง
ก. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย
ข.
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ค. พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ง. พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๒.เรื่องอิเหนาได้เค้าเรื่องจริงมาจากประวัติศาสตร์ชาติใด
ก.ชวา
ข. มาลายู
ค.ไทย
ง.มอญ
๑๓.อิเหนาเป็นโอรสของใคร
ก. ท้าวดาหา
ข.ท้าวกุเรปัน
ค.ท้าวหมันหยา
ง.ท้าวสิงหัดส่าหรี
๑๔.นางบุษบาเป็นธิดาของใคร
ก.ท้าวหมันหยา
ข.ท้าวกุเรปัน
ค.ท้าวดาหา
ง.ท้าวกะหมังกุหนิง
๑๕.ใครแต่งเรื่องดาหลัง(อิเหนาใหญ่)
ก.เจ้าฟ้าหญิงกุณฑล
ข.เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ
ค.พระพุทธเลิศล้านภาลัย
ง.พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
๑ ข
๒ ค
๓ ค
๔ ง
๕ ง
๖ ก
๔ ง
๕ ง
๖ ก
๗ ค
๘ ก
๙ ข
๑๐ ก
๑๑ ก
๑๑ ก
๑๒ ก
๑๓ ข
๑๔ ค
๑๕ ข
๑๖ ข
๑๗ ก
๑๘ ง
๑๙ ค
๒๐ ก
บทวิเคราะห์
เรื่องอิเหนามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
มีเรื่องเล่ากันว่าพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศคือเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ ทรงได้นางข้าหลวงมาจากปัตตานี นางข้าหลวงคนนี้ได้เล่านิทานปันหยี หรือ
เรื่องอิเหนาของชวาถวาย
เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนำเค้าเรื่องมาแต่งเป็นบทละครเรื่อง ดาหลัง (อิเหนาใหญ่)
ส่วนเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงแต่งเรื่อง อิเหนา (อิเหนาเล็ก) ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย
ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาเป็นบทละครสำหรับใช้แสดงละครรำ
ในตอนท้ายของบทพระราชนิพนธ์ได้อ้างถึงเรื่องอิเหนาในสมัยอยุธยาว่า
อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่เจ้าสตรีเธอนิพนธ์ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป
ลักษณะคำประพันธ์
กลอนบทละครมีลักษณะดังนี้
๑.กลอนแต่ละวรรค มีจำนวนคำระหว่าง ๗ – ๘ คำ
๒.
การสัมผัสในจะมีทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระเป็นคู่ๆในแต่ละวรรค
ทำให้เกิดเสียงเสนาะขึ้น
บทละครรำ เรื่อง อิเหนา
มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า
“เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”
เรื่องย่อของบทละครพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนามีดังนี้
มีกษัตริย์วงศ์เทวัญ 4 พระองค์ คือ ทาวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปันมีโอรสที่เก่งกล้าสามารถยิ่งชื่ออิเหนา และท้าวดาหามีธิดาที่ทรงโฉมชื่อบุษบา กษัตริย์ทั้ง 2 นครให้โอรสและธิดาตุนาตุนาหงัน กันไว้ตั้งแต่วัยเยาว์ตามประเพณีกษัตริย์วงเทวัญ
เมื่ออิเหนาอายุได้ ๑๕ ปี
อิเหนาต้องไปช่วยปลงพระศพพระอัยยิกาที่เมืองหมันหยาได้พบ
นางจินตะหราธิดาท้าวหมันหยาก็หลงรัก
และไม่ยอมกลับเมืองกุเรปันเพื่ออภิเษกกับนางบุษบา
ท้าวกุเรปันจึงมีหนังสือไปเรียกตัวอิเหนากลับ แล้วนัดท้าวดาหาให้เตรียมการวิวาห์ เมื่ออิเหนาทราบเรื่องก็ออกอุบายขอไปเที่ยวป่าพร้อมบริวาร แล้วปลอมตัวเป็นโจรป่าชื่อมิสาระปันหยี ตั้งใจจะไปเมืองหมันหยา ระหว่างทางได้สู้รบกับกษัตริย์หลายเมืองและมีชัยชนะ ได้โอรสธิดาของเจ้าต่างเมืองมาเป็นเชลย คือ
นางสการะวาตี
และนางมาหยารัศมีซึ่งอิเหนารับไว้เป็นชายา
และสังคาระมาตาซึ่งอิเหนารับมาเลี้ยงอย่างอนุชา เมื่อไปถึงเมืองหมันหยา
อิเหนาได้นางจินตะหราเป็นชายาและบอกตัดรอนนางบุษบา ท้าวดาหากริ้ว
ถ้าใครมาขอนางบุษบาก็จะยกให้
กล่าวถึงระตูจรกาซึ่งปรารถนามีคู่
จึงให้ช่างไปวาดรูปธิดาเมืองต่างๆช่างได้วาดรูปนางบุษบา ๒ รูป
ปะตาระกาหลาซึ่งเป็นองค์เทวาอัยกาต้องการจะสั่งสอนอิเหนาจึงลักรูปนางบุษบาไปจากช่างวาดรูปหนึ่ง
เหลือไว้รูปหนึ่ง เมื่อจรกาเห็นรูปนางบุษบาก็หลงรักจึงอ้อนวอนพี่ชายให้ไปสู่ขอนาง ท้าวดาหาก็ยอมยกนางบุษบาให้จรกา ฝ่ายองค์ปะตาระกาหลาได้นำรูปนางบุษบาที่ลักจากช่างวาดนั้นไปทิ้งไว้ที่โคนต้นไทร
วิหยาสะกำตามหากวางแปลงมาพบรูปนางก็คลั่งไคล้ไหลหลง วอนท้าวกะหมังกุหนิงซึ่งเป็นพระบิดาให้ส่งทูตไปขอนางบุษบา
แต่ท้าวดาหาปฏิเสธเพราะได้ยกนางให้จรกาแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิงสงสารโอรสจึงยกทัพไปตีเมืองดาหาเพื่อชิงตัวนางบุษบา
ท้าวกุเรปันเรียกตัวอิเหนาจากเมืองหมันหยามาช่วยท้าวดาหาทำศึกกับท้าวกะหมังกุหนิง เมื่ออิเหนามีชัยในสงครามครั้งนี้สังคามาระตาสังหารวิหยาสะกำ ส่วนอิเหนาสังหารท้าวกะหมักุหนิง
เมื่อเสร็จศึกอิเหนาเข้าเฝ้าท้าวดาหาและได้พบนางบุษบาก็หลงรักนางทันที อิเหนาเสียดายที่นางจะต้องอภิเษกกับจรกา จึงหาทางขัดขาวางพิธีอภิเษกโดยลักตัวนางบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำ ปะตาระกาหลากริ้วที่อิเหนาทำไม่ถูก
จึงบันดาลให้มีลมหอบพัดนางบุษบาไปจากอิเหนา
อิเหนาและนางบุษบาต่างต้องผจญเหตุการณ์ต่างๆอยู่เป็นเวลาหลายปี จึงได้กลับมาพบกัน
พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาเป็นหนังสือที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ คือดีทั้งความ ดีทั้งกระบวนกลอน ดีทั้งกระบวนสำหรับเล่นละคร
และยังแทรกความรู้เกี่ยวกับพิธีและประเพณีต่างๆไว้อีกด้วย
ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ว่า
หนังสือบทละครอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่๒ นอกจากเป็นหนังสือทางวรรณคดีแล้วยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยแต่โบราณด้วยอีกสถานหนึ่ง ด้วยประเพณีต่างๆที่มีในเรื่องอิเหนา ดังเช่นประเพณีสมโภชลูกหลวงประสูติใหม่ (เมื่ออิเหนาเกิด) ก็ดี ประเพณีการพระเมรุ (ที่เมืองหมันหยา)ก็ดี ประเพณีรับแขกเมือง (เมื่อท้าวดาหารับทูตจรกา) ก็ดี ประเพณีแห่สนานใหญ่(ที่เมืองกาหลัง)ก็ดี ประเพณีโสกันต์(สียะตรา)ก็ดี ทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราราชประเพณีทุกอย่าง ไขแต่ตรงที่ขัดกับเนื้อเรื่อง ดังเช่นในพระภิกษุสงฆ์เปลี่ยนเป็นฤาษี เป็นต้น
ถึงที่ว่าด้วยขนบธรรมเนียมในบ้านเมือง
ตลอดจนว่าด้วยพื้นอาศัยผู้คนก็ล้วนตรงตามลักษณะการที่เป็นอยู่ในสมัย ซึ่งพระราชนิพนธ์นั้นเป็นพื้น เว้นแต่ที่ขัดกับเนื้อเรื่อง จงแก้เป็นอย่างอื่น นักเรียนผู้แสวงหาความรู้ประเพณีแต่โบราณอาจจะศึกษาหาความรู้ได้ในบทละครอิเหนานี้เป็นอย่างมาก
เพราะฉะนั้นจึงนับว่าวิเศษกว่าบทละครรำเรื่องอื่นที่เป็นตำราด้วยอีกอย่างหนึ่ง
บทละครเรื่องอิเหนาที่เลือกมาให้ศึกษาคือตอนศึกกะหมังกุหนิงซึ่งเป็นศึกครั้งใหญ่ที่สุดใยเรื่องนี้
มีบทบรรยายที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำศึกสงครามในสมัยก่อนตั้งแต่การเตรียมกระบวนทัพ การเกณฑ์ไพร่พล การยกทัพ
การตั้งค่ายตามตำราพิชัยสงครามและยุทธวิธีในการต่อสู้ ดังตัวอย่างบทบรรยายการเคลื่อนทัพของอิเหนาว่า
พอได้ศุภฤกษ์ก็ลั่นฆ้อง ประโคมคึกกึกก้องท้องสนาม
ประโรหิตฟันไม่ข่มนาม ทำตามตำราพิชัยยุทธ์
ทัพหน้าทัพหลวงทัพหลัง พร้อมพรั่งตั้งโห่อึงอุตม์
ทหารโบกธงทองกระบี่ครุฑ ฝรั่งจุดปืนใหญ่ให้สัญญา
ชีพ่อก็เบิกโขนทวาร โอมอ่านอาคมคาถา
เสด็จทรงช้างที่นั่งหลังคา คลาเคลื่อนโยธาทุกหมวดกอง
นอกจากยังมีหมวดบรรยายการสู้รบแบบประจัญบานกันตัวต่อตัวบนหลังม้าด้วยอาวุธต่างๆ เช่น
สังคามาระตากับวิหยาสะกำใช้ทวน
และอิเหนากับท้าวกะหมังกุหนิงใช้หอก
กระบี่และกริช เป็นอาวุธต่อสู้กัน
เพราะรักบุตรสุดสวาทแสนทวี
บทละครเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง
เริ่มเรื่องเมื่อท้าวกะหมังกุหนิงคิดจะทำสงครามกับกรุงดาหาเพื่อชิงนางบุษบามาให้วิหยาสะกำโอรสของพระองค์
ท้ากะหมังกุหนิงหารือกับระตูปาหยังและระตูประหมันผู้เป็นอนุชา
อนุชาทั้งสองทัดทานว่าเมืองดาหาเป็นเมืองใหญ่ของกษัตริย์วงศ์อสัญแดหวาผู้มีฝีมือเลื่องลือในการสงคราม ส่วนกะหมังกุหนิงเป็นเพียงเมืองเล็กๆ คงจะสู้ศึกไม่ได้ แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ฟังคำทัดทานเพราะรักลูกมากจนไม่อาจทนเห็นลูกทนทุกข์ทรมานได้ แม้จะรู้ว่าอาจสู้ศึกไม่ได้
แต่ก็ตัดสินใจทำสงครามด้วยเหตุผลที่บอกแก่อนุชาทั้งสองว่า “เอ็นดูนัดดาโศกกาลัย ว่ามิได้อรทัยจะมรณา แม้เอ็นดูนัดดาโศกกาลัย ว่ามิได้อรทัยจะมรณา แม้วิหยาละกำมอดม้วย
พี่คงตายด้วยโอรสา....ผิดก็ทำสงครามดูตามที เคราะห์ดีก็จะได้ดังใฝ่ฝัน พี่ดังพฤกษาพนาวัน จะอาสัญเพราลูกเหมือนกล่าวมา”
เมื่อส่งทูตไปทูลขอนางบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหา ท้าวกะหมังกุหนิงก็จัดทัพเตรียมไปตีเมืองดาหาโดยให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง ส่วนพระองค์เป็นจอมทัพ ก่อนที่จะยกทัพไปนั้นโหรทำนายว่าดวงชะตาของท้าวกะหมังกุหนิงและวิหยาสะกำนั้นถึงฆาต ถ้ายกทัพไปในวันรุ่งขึ้นจะพ่ายแพ้แก่ศัตรู ควรงดเว้นการทำศึกไปก่อน ๗ วันจึงจะพ้นเคราะห์ แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่เปลี่ยนพระทัย เพราะเกรงจะถูกครหาว่ากลัวข้าศึกศัตรู ทำให้เป็นที่อับอายแก่ไหร่ฟ้าทั้งหลายได้
ฝ่ายท้าวดาหาขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน ท้าวกาหลังและท้าวสิงหัดส่าหรี
ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสไปช่วยรบ และท้าวกาหลังให้ตำมะหงงและตะหมังคุมพลจากเมืองกาหลังมาสมทบกับสุหรานากง
ส่วนท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งสั่งให้อิเหนายกทัพไปช่วยท้าวดาหาทำศึก อีกฉบับหนึ่งส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตะหราว่าเป็นต้นเหตุให้อิเหนาตัดรอนนางบุษบา
ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา
ในการสู้รบ
สังคามาระตาทูลอิเหนาว่าขอเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำ อิเหนาเหนาเห็นว่าเพลงกระบี่ของสังคามาระตายังไม่ชำนาญจึงให้สู้ด้วยเพลงทวน สังคามาระตาสังหารวิหยาสะกำได้
ท้าวกะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ
ปรี่เข้าไล่ล่าสังคามาระตาอิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้กับท้าวกะหมังกุหนิง ทั้งสองฝีมือทัดเทียมกัน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะหลายกระบวนเพลง
แต่ในที่สุดอิเหนาก็ใช้กริชที่องค์ปะตาละกาหลาประทานให้เมื่อแรกประสูติ สังหารท้าวกะหมังกุหนิงวได้ ทัพฝ่ายกะหมังวกุหนิงแตกพ่ายไป
ระตูปาหยังและระตูประหมันยอมแพ้และจะขอส่งเครื่องบรรณาการมาถวายจามประเพณี ระตูปาหยังและระตูประหมันเสียใจที่ท้าวกะหมังกุหนิงต้องมาตายเพราะความประมาทและเพราะรักลูกมากเกินไป ดังคำรำพันว่า
โอ้ว่าพระองค์ผู้ทรงยศ พระเกียรติปรากฏในแหล่งหล้า
สงครามทุกครั้งแต่หลังมา ไม่เคยอัปราแก่ไพรี
ครั้งนี้ควรหรือมาพินาศ เบาจิตคิดประมาทไม่พอที่
เพราะรักบุตรสุดสวาทแสนทวี จะทัดทานภูมีไม่เชื่อฟัง
การศึกครั้งนี้ไม่ควรเป็น
เมื่อสืบสาวไปถึงต้นเหตุแห่งศึกกะหมังกุหนิงแล้ว เราอาจคิดว่าน่าจะเริ่มที่วิหยาสะกำ
เพราะความลุ่มหลงในรูปโฉมของนางบุษบาแม้เพียงจากรูปวาด วิหยาสะกำก็คลั่งไคล้จนสิ้นสติ เป็นเหตุให้บิดาต้องพยายามต่อสู้เพื่อให้ลูกสมปรารถนา
แต่ผู้อ่านเองคงจะเห็นพ้องกับตัวละครหลายตัวในเรื่องที่เชื่อว่าอิเหนามีส่วนที่ต้องรับผิดชอบอยู่มาก ดังที่ท้าวกุเรปันตำหนิอิเหนาว่า “
ซึ่งเกิดศึกสาเหตุเภทภัย
ก็เพราะใครทำความไว้งามพักตร์
ครั้งหนึ่งก็ให้เสียวาจา
อายชาวดาหาอาณาจักร” ท้าวกุเรปันหมายถึงการที่อิเหนาบอกตัดรอนบุษบาซึ่งหมั้นหมายกันไว้แล้ว เพราะไปหลงนางจินตะหราอยู่ที่เมืองหมันหยา เท่ากับเป็นการเสียวาจา ที่ให้ไว้กับท้าวดาหา ท้าวกุเรปันยังกล่าวโทษจินตะหราด้วย ดังที่ตำหนิท้าวหมันหยาว่า “มีราชธิดายาใจ แกล้งให้แต่งตัวไว้ยั่วชาย จยลูกเราร้างคู่ตุนาหงัน ไปหลงรักผูกพันหมั้นหมาย จะให้ชิงผัสวเขาเอาเด็ดตาย ช่างไม่อายไพร่ฟ้าประชาชน”
ฝ่ายท้าวดาหาก็เห็นว่าศึกครั้งนี้เกิดเพราะอิเหนาปฏิเสธนางบุษบา ทำให้พระองค์เคืองแค้นแน่นอุรา จนประกาศว่า แม้นใครมาขอก็จะให้ เมื่อระตูจรกามาทูลขอบุษบาท้าวดาหาจึงประชดอิเหนาโดยยกนางบุษบาให้จรกาไป ครั้นเมื่อท้าวกะหมังกุหนิงมาทูลขอนางบุษบาให้วิหยาสะกำ ท้าวดาหาก็จำต้องปฏิเสธ เมื่อเกิดศึกขึ้น ท้าวดาหารำพึงถึงสาเหตุว่า “ อันศึกครั้งนี้ซึ่งมีมา เพราเขาขอบุษบาเราไม่ให้ จึงเป็นเสี้ยนศุตรูหมู่ภัย” แต่เมื่อปรารภกับสุหรานากงพระนัดดาซึ่งมาช่วยรบ ท้าวดาหากลับกล่าวประชดด้วยความน้อยใจว่า เพราะนางบุษบา “อัปลักษณ์” จนผู้ชายปฏิเสธ จึงทำให้เกิดเหตุเป็นสงคราม ดังที่ว่า การศึกครั้งนี้ๆไม่ควรเป็น เกิดเข็ญเพราะลูกอัปลักษณ์ จะมีคู่ผู้ชายก็ไม่รัก จึงหักให้สาสมใจ” ต่อมาก็กล่าวเจาะจงไปว่า อิเหนานั้นเองที่เป็นต้นเหตุแห่งศึกสงคราม ดังที่ว่า “ พระเชษฐา ให้สารไปกี่ครั้ง เขายังไม่จากหมันหยา จนสลัดตัดการวิวาห์ ศึกติดพาราก็เพราะใคร” แต่แท้ที่จริง ท้าวดาหาเองก็นับว่ามีส่วนที่ทำให้เกิดสงคราม เพราะได้ตัดสินใจยกนางบุษบาให้จรกาเพียงเพราะความแค้นเคืองอิเหนาและเพราะถือศักดิ์ศรีของตน ดังที่ว่า “ คิดแค้นนัดดาเป็นพันไป ทั้งมานะกษัตริย์ตัดขาด จึงอวยอนุญาตประสาทให้” คำว่า มานะ ในที่นี้หมายถึง การถือตนว่าสำคัญและมีศักดิ์ศรี ไม่อางให้ใครมาลบหลู่ได้
ข้างฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงก็มีส่วนอย่างมากที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้
นอกจากเพราะความรักลูกมากไม่อยากให้ลูกผิดหวังจึงก่อสงครามครั้งนี้ขึ้นดังกล่าวแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิงยังทำศึกเพราะ เบาความ อีกด้วย
ดังที่อนุชาทั้งสองได้ทูลทัดทานว่ามิควรประมาทกำลังของศัตรู
และยังเตือนอีกว่าให้ไตร่ตรองถึงสาเหตุและผลลัพธ์ของการทำศึกด้วย ดังที่ว่า
“ใช่จะไร้ธิดาทุกธานี
มีงามแต่บุตรีท้าวดาหา
พระองค์จึงควรตรึกตรา
ไร่ฟ้าประชากรจะร้อนนัก” ยิ่งกว่านั้นท้าวกะหมังกุหนิงก็ยังทำศึกเพราะความหยิ่งในศักดิ์ศรีของตน ดังจะเห็นได้จากตอนที่รู้ว่า
ท้าวดาหาปฏิเสธที่จะยกนางบุษบาให้วิหยาสะกำโดยกล่าวว่า ตัดไมตรีให้ขาดทาง ท้าวกะหมังกุหนิงรู้สึกขัดเคืองและลั่นวาจาว่า “
เราก็เรืองฤทถาศักดาเดช
อาณาจักรนัคเรศกว้างขวาง
จำต้องมีมานะไม่ละวาง
จะชิงนางบุษบาลาวัณย์ แม้นมิได้สมคิดดังจิตปอง ไม่คืนครองกรุงไกรไอศวรรย์ จะสงครามตามตีติดพัน ไปกว่าชีวันจะบรรลัย” การทำศึกครั้งนี้จึงเป็นการพิสูจน์ความ เรืองฤทธาศักดาเดช ของตนเอง
กล่าวกันว่าผู้ที่ทำให้เกิดศึกกะหมังกุหนิงนั้นมิใช่คนใดคนหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว หลายคนมีส่วนที่เป็นต้นเหตุมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป แต่ละคนก็ต่างก็ เบาจิตคิดประมาทไม่พอที่ และถือเอาอารมณ์และความสำคัญของตนเป็นที่ตั้ง การศึกครั้งนี้ที่ไม่ควรเป็นก็จึงเกิดขึ้น
เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้
พราะราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนานั้นนอกจากจะมีคุณค่าด้านเนื้อหาที่ทำให้ผู้อ่านเพลิดเพลินไปกับเรื่องราวและพฤติกรรมของตัวละครอันเป็นความบันเทิงใจและได้แง่คิดต่างๆเป็นความจรรโลงใจแล้ว บทร้อยกรองยังมีความไพเราะงดงาม และมีความหมายลึกซึ้งคมคายด้วยคุณลักษณะต่างๆดังนี้
๑.บทบรรยายเล่าเรื่องอย่างกระชับ เดินเรื่องรวดเร็ว และสื่อความหมายได้ทันทีว่า ใคร
ทำอะไร ที่ไหน
อย่างไร เช่น
ตอนที่บรรยายอากับกิริยาของสังคามาระตจาและวิหยาสะกำในการสู้รบว่าดังนี้
เมื่อนั้น สังคามาระตาแข็งขัน
ขับม้าไวว่องป้องประจัญ เป็นเชิงชั้นชิงชัยในทีทวน
ร่ายรับกลับแทงไม่แพลงพล้ำ วิหยาสะกำผัดผันหันหวน
ต่างเรียงเคียงร่ายย้ายกระบวน ปะทะทวนรวนรุกคลุกคลี
นอกจากมีบทบรรยายที่ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพการต่อสู้แล้ว
ยังมีบทที่แสดงอารมณ์ต่างๆของผู้ที่พยายามเอาชนะกัน เช่น
กริ้วโกรธโกรธาบ้าจิต
จะรอรั้งยั้งคิดก็หาไม่
เข้าปะทะปะกริชด้วยฤทธา ผัดผันไปมาไม่ครั่นคร้าม
ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่ความสูญเสียเมื่อฝ่ายที่พ่ายแพ้ถูกสังหารในศึกสงคราม
๒.
บทพรรณนากล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยละเอียด
ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพเด่นชัด
เช่น
ตอนที่พรรณนาเครื่องแต่งตัวของกะหรัดตะปาตีว่าดังนี้
ภูษายกพื้นดำอำไพ สอดใส่ฉลององค์ทรงวันเสาร์
เจียดระบาดคาดรัดหน่วงเนา ปั้นเหน่งเพชรเพริดเพราพรรณราย
ตาบทิศทับทรวงห่วงห้อย สวมสร้อยสังวาลประสานสาย
ทรงกรแก้วกิ่งพริ้งพราย ธำมรงค์เรืองรายพลอยเพชร
ทรงชฎามาลัยดอกไม้ทัด กรรเจียกจอนจำรัสตรัสเตร็จ
เหน็บพระแสงกั้นหยั่นกัลเม็ด แล้วเสด็จขึ้นเฝ้าพระบิดา
๓.
บทครวญทำนองบทนิราศแสดงอารมณ์ทุกข์โศกของตัวละครที่ต้องพลัดพรากจากผู้เป็นที่รัก เช่น
ตอนที่อิเหนาจากนางจินตะหรา
นางสการะวาตี และนางมาหยารัศมี
ดังนี้
ครั้นออกมานอกนคเรศ พระทรงเดชเศร้าสร้อยระห้อยไห้
เหลียวหลังตั้งตาดูเวียงชัย หฤทัยหวั่นหวั่นถึงกัลยา
โอ้ว่าเจ้าดวงยิหวาพี่ ปานนี้จะคร่ำครวญหวนหา
ใครจะปลอบโฉมงามสามสุดา แต่พอพาใจเศร้าบรรเทาคลาย
สงสารน้ำคำที่พร่ำสั่ง คิดถึงความหลังแล้วใจหาย
ครวญพลางกำสรดระทดกาย แล้วคิดอายพวกพลมนตรี
จึงชักม่านทองทั้งสี่ทิศ ดังจะปิดบังแสงสุรีย์ศรี
ลมหวนอวลกลิ่นสุมาลี เหมือนกลิ่นผ้ายาหยีซึ่งเปลี่ยนมา
แว่วเสียงสำเนียงบุหรงร้อง ว่าเสียงสามนิ่มน้องเสน่หา
พระแย้มเยี่ยมม่านทองทัศนา เห็นแต่ป่าพุ่มไม้ใบบัง
เอนองค์ลงอิงพิงเขนย กรเกยก่ายพักตร์ถวิลหวัง
รสรักร้อนรนพ้นกำลัง ชลนัยน์ไหลหลั่งลงพรั่งพราย
๔.
ความเปรียบสื่อความได้จ่มชัดและทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ เช่น
“ได้ฟังกริ้วโกรธดังเพลิงกัลป์” หมายความว่า
ความโกรธนั้นรุนแรงมากราวกับไฟที่ไหม้ล้างโลก
“มีความเกษมสันต์หรรษา
ดังได้ผ่านฟ้าราศี”
หมายความว่ามีความยินดีอย่างยิ่งราวกับได้ครองเมืองสวรรค์
“ตายระดับทับกันดังฟอนฟาง
เลือดนองท้องช้างเหลวไหล” เป็นภาพของไพร่พลที่ถูกสังหารเป็นจำนวนมาก
นอนตายก่ายทับกันราวกับกองฟางที่ไหม้
และเลือดไหลนองท่วมพื้นสูงจงถึงท้องช้าง (ขณะที่ยืนอยู่)
“พี่ดังพฤกษาพนาวัน
จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมา”
ท้าวกะหมังกุหนิงเปรียบตนเองตามคำกล่าวโบราณที่ว่าต้นไม้ตายเพราะลูก หมายถึงไม้จำพวกกล้วยเมื่อมีลูกแล้วต้นกล้วยก็จะตาย ท้าวกะหมังกุหนิงจะไปรบเพื่อลูก ซึ่งอาจทำให้ตายได้ แต่ก็เต็มใจเพราะความรักลูก
๕.
โวหารโต้ตอบคมคาย เช่น ตอนที่อิเหนาบอกนางจินตะหราว่าจะต้องไปศึกสงคราม นางจินตะหราก็ย้อนว่าคงจะเป็น “สงครามในจิต”
เพราะอิเหนาคิดถึงนางบุษบาและตัดพ้อว่าอิเหนาไม่รักษาสัญญาว่าจะอยู่ด้วยกันตลอดไป
พระจะไปดาหาปรามข้าศึก หรือรำลึกถึงคู่ตุนาหงัน
ด้วยสงครามในจิตยังติดพัน จึงบิดผันพจนาไม่อาลัย
ไหนพระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย
ไม่นิราศแรมร้างห่างไกล จนบรรลัยมอดม้วยไปด้วยกัน
ฯลฯ
อิเหนากล่าวแก้ในทันทีว่า
ซึ่งสัญญาว่าไว้กับนวลน้อง จะคงครองไมตรีไม่หนีหน่าย
มิได้แกล้งกลอกกลับอภิปราย อย่าสงกาว่าจะวายคลายรัก
จงสร่างสิ้นกินแหนงแคลงใจ ที่ในบุษบามารศรี
พี่สลัดตัดใจไม่ไยดี มิได้มีปรารถนาอาลัย
ฯลฯ
๖. การเล่นด้วยการนำคำทีมีเสียงพ้องกัน แต่ความหมายต่างกันมาเรียงร้อย
เข้าด้วยกันเพื่อความว่าสิ่งนั้นทำให้จิตประหวัดไปถึงนางที่รัก เช่น
ในบทชมนกชมไม้
เมื่ออิเหนาเดินทางออกเมืองหมันหยา
ดังนี้
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
ตระเวนไพรร่อนตระเวนไพร เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
ความไพเราะงดงามและและความหมายลึกซึ้งดังกล่าวเกิดจากการสรรคำเพื่อให้ได้คำที่เหมาะอยู่ในที่เหมาะ
นับเป็นความประณีตในการประพนธ์ดังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัยผู้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ได้แสดงพระราชประสงค์ไว้ในเพลงยาว ท้ายเรื่องว่าเป็นการ “เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้”
พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา
จึงดีเด่นทั้งกระบวนกลอนและเนื้อความ
จนได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครรำ
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ