วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                         ช่วงชั้นที่๔ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
หน่วยการเรียนรู้ที่๒   เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
แผนการเรียนที่ ๑      เรื่อง   อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง        เวลา  ๒  ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่..............................เดือน..............................พ.ศ. ...............

                                
สาระและมาตราฐานการเรียนรู้
                สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
                มตราฐานท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น  วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย
อย่างเห็นคุณค่า  และแสดงให้เห็นถึงแง่คิดของวรรณคดี  สามารถนำแง่คิดที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ตัวชี้วัด   
       มฐ. ท ๕.๑  เข้าใจและแสดงความคิดเห็น  วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย
สาระสำคัญ
                อิเหนาเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่า  ในคำประพันธ์บทละครเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง
มีศิลปะการแต่งคำประพันธ์ที่ไพเราะ   แสดงให้เห็นถึงประเพณีแต่โบราณ   พร้อมข้อคิดในการใช้ชีวิตของคนแต่โบราณ  ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑.นักเรียนสามารถบอกประวัติความเป็นมาของเรื่องได้
                           ๒. นักเรียนสามารถบอกคำศัพท์ของเรื่องได้
๓. นักเรียนสามารถลำดับเหตุการณ์ของเรื่องได้
 ๔.นักเรียนสามารถบอกข้อคิดจากเรื่องได้
                สาระการเรียนรู้
๑.      ความรู้
บทละครเรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง


กระบวนการจัดการเรียนรู้ (กิจกรรมการเรียนการสอน)
                                ขั้นนำสู่บทเรียน
๑.ครูกล่าวทักทายนักเรียน  แล้วนำบัตรภาพจำนวน ๔ รูป  นำไปติดบนกระดาน   โดยมีรูปของ  อิเหนา  นางบุษบา  นางจินตะหรา  ท้าวดาหา    ครูนำรูปอิเหนาและบุษบา  นางจินตะหราและท้าวดาหาแล้วถามว่า  
ครูพูด: นักเรียนรู้จักไหมว่ายบุคคลในรูปคือใคร แล้วนักเรียนรู้จักบุคคลในรูปหรือไม่
๒.ครูและนักเรียนร่วนกันเฉลยว่าภาพที่อยู่บนกระดานเป็นตัวละครที่ปรากฎอยู่ใรเรื่องอะไร
๓. ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าวันนี้จะเรียน  เรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง
๔.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง 
จำนวน ๒๐ ข้อ   
ขั้นสอน
                                ๑.ครูเปิด E-book ให้นักเรียนดูโดยครูอธิบายควบคู่ไปด้วย
๒.ครูให้นักเรียนดูประวัติความเป็นมาของเรื่องอิเหนาว่าใครคือผู้แต่งเรื่องอิเหนา
มีที่มาอย่างไร
                                ๓.ครูให้นักเรียนหาคำศัพท์เรื่องอิเหนามาโดยแบ่งกลุ่มออกเป็น  ๕ กลุ่ม
                                โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเปิดหาคำศัพท์กลุ่มละ ๓ หน้า พร้อมบอกความหมาย
                                โดยเขียนลงในกระดาษ
ครูพูดว่า: นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๕ คนแล้วเมื่อหาคำศัพท์ได้แล้วก็ให้กลุ่มเดิม
ที่หาคำศัพท์   มาถอดคำประพันธ์ตามหน้าที่ได้หาคำศัพท์ไว้แล้ว   ว่าใน
หน้านี้คำประพันธ์ว่าอย่างไรบ้าง  โดยให้แต่ละกลุ่มถอดคนละ ๓ หน้า
ตามที่กำหนดไว้  แล้วส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
๔. ครูให้นักเรียนครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด  เรื่องการลำดับเหตุการณ์จากเรื่องวรรณคดีเรื่องอิเหนา   ตอนศึกกะหมังกุหนิง   ว่าเริ่มแรกอิเหนาตอนนี้  เริ่มจากอะไร   และมีเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นมา
๑ เริ่มจากท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพไปรบเมืองดาหา
๒  ท้าวกุเรปันเรียกตัวอิเหนามาช่วยรบ
๓ อิเหนาจากนางจินตะหรา
๔ อิเหนาเดินทางในป่า
๕อิเหนารบกับวิหยาสะกำ
๖.ให้เรียงคำศัพท์ที่จากเนื้อเรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกหนิง
๗ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อคิดในเรื่อง  และให้บอกว่าข้อคิดที่ได้จากเรื่องมีอะไรบ้าง
 ๖. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดทั้งหมด๔ ตอน
๗.ครูสรุปเนื้อหาที่นักเรียนนำเสนอและอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
๘. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน ๒0 ข้อ
ขั้นสรุป
๑.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเนื้อหาในบทเรียนเรื่องอิเหนา
ตอนศึกกะหมังกุหนิง 
                                                ๒.ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบฝึกหัดและแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
                                สื่อการเรียนรู้ / นวัตกรรม/ แหล่งการเรียนรู้
๑.บทเรียนสำเร็จรูป E-book เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
-                   ความรู้ในเรื่องอเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
-                   จุดประสงค์การเรียนรู้เรื่องอิเหนา
๒.แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียนบทเรียน   เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง 
๓.รูปภาพตัวละคร   เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง 
๔.แบบฝึกหัดเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง 
กระบวนการวัดผลและประเมินผล
๑.      สิ่งที่ต้องวัด
๑.๑ วัดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา  
๑.๒ สังเกตจากพฤติกรรม ( กระบวนการทำงานกลุ่ม )
๑.๓ ทำแบบฝึกหัดได้ร้อยละ ๖๐
๑.๔ทำแบบทดสอบหลังเรียน ๒0ข้อ ได้อย่างน้อย ๑๒ ข้อ
๑.๕ความถูกต้องของแบบฝึกหัด และแบบทดสอบ
                                               
๒.   เครื่องมือวัดและประเมินผล
                                                                ๒.๑   แบบวัดความรู้ความเข้าใจ
                                                             ๒.๒  แบบวัดพฤติกรรม (กระบวนการทำงานกลุ่ม )
                                                                            ๒.๓  แบบฝึกหัด  ๔  บท
                                                                ๒.๓    แบบทดสอบหลังเรียน
                                                                ๒.๔    แบบบันทึกการตรวจผลงาน 
                                                ๓.เกณฑ์การวัดและประเมินผล
                                                               นักเรียนผ่านเกณฑ์  ไม่น้อยกว่าร้อยละ  ๖๐
เกณฑ์การผ่านการประเมิน
                ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐ขึ้นไป
บันทึกข้อเสนอแนะของผู้ตรวจนิเทศ / ผู้บริหาร
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                                                                สงชื่อ.................................................

                                                                ตำแหน่ง.............................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น